ข้อวิพากษ์วิจารณ์ ของ สรยุทธ สุทัศนะจินดา

บทความนี้หรือส่วนนี้ของบทความต้องการปรับรูปแบบ ซึ่งอาจหมายถึง ต้องการจัดรูปแบบข้อความ จัดหน้า แบ่งหัวข้อ จัดลิงก์ภายใน และ/หรือการจัดระเบียบอื่น ๆ คุณสามารถช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้โดยการกดที่ปุ่ม แก้ไข ด้านบน จากนั้นปรับปรุงหรือจัดรูปแบบอื่น ๆ ในบทความให้เหมาะสม
  • ถูกวิจารณ์ว่านำเสนอข่าวที่ไม่เป็นสาระโดยให้เวลาและความสำคัญเป็นพิเศษ ไม่ให้ความสำคัญและน้ำหนักเทียบเท่ากับเรื่องอื่น ๆ ที่สำคัญกว่า เช่น การฉ้อราษฎร์บังหลวงของรัฐบาล[10]
  • การเล่าข่าวใน รายการ เรื่องเล่าเช้านี้ และ คุยคุ้ยข่าว ซึ่งนำข่าวพาดหัวหนังสือพิมพ์มาอ่านในรายการโทรทัศน์ โดยมีวิธีการนำเสนอที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง ซึ่งถูกวิพากษ์วิจารณ์จากสื่อมวลชนด้วยกันถึงความเหมาะสมที่สื่อโทรทัศน์ ซึ่งมีทรัพยากรและบุคลากรเพียงพอที่จะทำข่าวอย่างมีคุณภาพ กลับนำข่าวจากสื่อหนังสือพิมพ์มาใช้ มานำเสนอโดยสอดแทรกความเห็นของตัวเอง ทั้งที่ไม่มีการหาข้อมูลในเชิงลึกเพิ่มเติม จนถูกบางคนเรียกชื่อรายการว่า "คุยคุ้ยเขี่ย" [11][12] [13]
  • กรณีการนำสินค้าเข้ามาประกอบในรายการ และเก็บรายได้จากเจ้าของสินค้า โดยไม่นำส่งส่วนแบ่งรายได้ของอสมท. ตามสัดส่วน เป็นเงินถึง 98 ล้านบาท[14][15][16] [17] [18]
  • กรณีเปิดให้มีการส่งข้อความสั้นเข้ามาแสดงความคิดเห็นในรายการ โดยอ้างว่าเพื่อการเปิดกว้างแสดงความเห็น โดยมีของรางวัลสมนาคุณ แต่มีการแสวงหาประโยชน์จากการแบ่งรายได้กับบริษัทบริการโทรศัพท์ [19]

หลังจากข้อเท็จจริงเรื่องนี้ถูกเปิดเผย และเป็นข่าวทางหนังสือพิมพ์ และถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง นายสรยุทธ กลับเก็บตัวเงียบ ปฏิเสธว่าไม่ได้รับรู้ด้วย [20] และปิดปรับปรุงส่วนบอร์ดรับความคิดเห็น ในเว็บไซต์ส่วนตัว อย่างไม่มีกำหนด[21]

  • ราวเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2549 สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บมจ.อสมท ตรวจพบว่า บริษัท ไร่ส้มฯ ของสรยุทธค้างรายได้จากการโฆษณาเป็นเงินเกือบ 100 ล้านบาท โดยที่มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.อสมท อาจรู้เห็นด้วย ซึ่งต่อมาการแถลงของผู้บริหาร บมจ.อสมท ต่อกรณีนี้ก็ไม่มีความชัดเจน ต่อมาคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) โดยมี พล.ต.อ.ประทิน สันติประภพ เป็นประธาน เปิดเผยผลสอบว่า บริษัทไร่ส้มโฆษณาเกินกว่าสัญญาจริง สร้างความเสียหายให้ อสมท. เป็นเงิน 138 ล้านบาท[22]
  • กรณีเงินรับบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยสึนามิในเหตุการณ์แผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2547 ซึ่งเปิดรับบริจาคเพื่อช่วยเหลือชาวบ้านหมู่บ้านน้ำเค็ม ตำบลบางม่วง อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา ผ่านทางรายการ ได้ยอดเงินประมาณ 9 ล้านบาท แต่ไม่มีการนำเงินไปมอบให้ผู้ประสบภัยจริง[ต้องการอ้างอิง] ต่อมาสรยุทธ์ได้นำชาวบ้านที่เป็นผู้ดูแล กองทุนถึงลูกถึงคนฟื้นฟูบ้านน้ำเค็ม ออกชี้แจงความเป็นมาของโครงการและข้อพิพาทนี้แล้ว เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2549 ว่าโครงการนี้ในที่สุดได้ถึงมือชาวบ้านและบริหารงานอย่างมีระบบและชาวบ้านยังคาดว่าจะสามารถเป็นตัวอย่างให้กับพื้นที่อื่น ๆ ด้วย[23]
  • หลังเหตุการณ์รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 กนก รัตน์วงศ์สกุล พิธีกรร่วมรายการคุยคุ้ยข่าวและเพื่อนสนิทนายสรยุทธ์ได้ยุติการทำรายการร่วมไป โดยลือกันว่า เป็นเพราะกนกไม่อาจทำงานร่วมกับสรยุทธ์ต่อไปได้ เนื่องจากเป็นสื่อที่รายงานข่าวไม่ตรงไปตรงมาและมีผลประโยชน์แอบแฝง โดยตอนหนึ่งกนกได้เขียนลงในนิตยสารเนชั่นสุดสัปดาห์ว่า "ผมทำงานกับคนโกงไม่ได้" โดยสื่อให้เข้าใจว่าหมายถึง สรยุทธ[24]
  • หม่อมหลวงณัฏฐกรณ์ เทวกุล พิธีกรร่วมในรายการเรื่องเล่าเช้านี้ หลังจากที่ทำหน้าที่พิธีกรร่วมมาในระยะเวลาไม่นาน ก็ยุติการทำรายการร่วมไป โดย ม.ล.ณัฏฐกรณ์ ได้เปิดเผยว่าเพราะ สรยุทธ ไม่เคยให้เกียรติตน อีกทั้งไม่เห็นด้วยกับแนวทางการนำเสนอข่าวของสรยุทธ[25] [26]
  • ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากกรณีนำบิดาของผู้ต้องหาจากเหตุการณ์ขับรถเบนซ์ชนพนักงานองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) จนเสียชีวิต มาให้สัมภาษณ์แต่เพียงฝ่ายเดียว โดยพาดพิงถึงฝ่ายพนักงาน ขสมก. เป็นเหตุให้พนักงาน ขสมก. ไม่พอใจและได้ร่วมกันยื่นหนังสือประท้วงช่อง 3 ต้นสังกัดของสรยุทธ ถึงความเป็นกลางในการนำเสนอข่าวสาร[27]
  • ถูก บมจ.อสมท.ฟ้องดำเนินคดีในข้อหาฉ้อโกง และปลอมแปลงเอกสาร จากกรณีความผิดปกติในรายได้ค่าโฆษณา[28]
  • วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2552 นำเสนอข่าวในรายการเรื่องเล่าเช้านี้ ว่าสนธิ ลิ้มทองกุล กำลังจะไปปลีกวิเวกที่ประเทศอินเดีย ต่อมา สนธิแถลงข่าวปฏิเสธ[ต้องการอ้างอิง]
  • ในรายการเรื่องเล่าเสาร์-อาทิตย์ ประจำวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ได้เหน็บแนมราชบัณฑิตยสถานเกี่ยวกับศัพท์บัญญัติของคำว่า "ซอฟต์แวร์" และ "ฮาร์ดแวร์"
  • หลังจากคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้ชี้มูลความผิดกรณีความผิดปกติในรายได้โฆษณาแล้ว สรยุทธกลับใช้เวลาของรายการเรื่องเล่าเช้านี้ ซึ่งเป็นรายการที่ตนเองเป็นพิธีกร ชี้แจงที่เสมือนการแก้ตัวในกรณีนี้ และยังไม่ยุติการทำหน้าที่ ซึ่งทางสภาการหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้มีมติให้สรยุทธยุติการทำหน้าที่ของตนเอง แต่สรยุทธกลับยื่นหนังสือลาออกแทน แต่ต่อมาสภาฯ ได้ชี้แจงว่า สรยุทธได้พ้นสมาชิกภาพไปแล้วกว่า 3 ปี เนื่องจากไม่ได้จ่ายค่าสมาชิก[29] อีกทั้งภาคีเครือข่ายต้านคอร์รัปชั่น ซึ่งเป็นองค์กรภาคธุรกิจเอกชนที่ต่อต้านการคอร์รัปชั่นทุกรูปแบบในสังคม ได้ทำหนังสืออย่างเป็นทางการไปยังช่อง 3 ซึ่งเป็นต้นสังกัดให้พิจารณาการทำหน้าที่ของสรยุทธ หากไม่เช่นนั้นแล้วจะถอนโฆษณาที่สนับสนุนในช่วงรายการของสรยุทธ[30][31][32]
  • กรณีประชาสัมพันธ์กิจกรรม นาย ตัน ภาสกรนที ไม่ว่าจะเป็นการบริจาคเงิน ของนาย ตัน โรงงานของนายตัน ถูกน้ำท่วม แลกกับค่าโฆษณา

แหล่งที่มา

WikiPedia: สรยุทธ สุทัศนะจินดา http://www.bangkokbiznews.com/2006/09/25/u001_1404... http://www.bangkokbiznews.com/viewNews.jsp?newsid=... http://news.impaqmsn.com/articles_hn.aspx?id=50405... http://hilight.kapook.com/view/12036 http://hilight.kapook.com/view/12063 http://hilight.kapook.com/view/13156 http://www.naewna.com/local/24923 http://www.naewna.com/news.asp?ID=29701 http://www.positioningmag.com/Magazine/Details.asp... http://www.positioningmag.com/multimedia/sound2005...